ประวัต โคเคนเป็นสารเสพติดซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเมื่อประมาณ 600 ปี ที่ผ่านมา โดยในสมัยอินคา(Incas) ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองของเปรูมีความเชื่อถือว่าโคเคนเป็นสารซึ่งพระเจ้าประทานมาให้ แต่ในยุคปัจจุบัน โคเคนคือ สารมฤตยูจากนรก เพราะได้ทำลายมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจรวมทั้งทำให้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ประเทศสหรัฐอเมริกามีการเสพโคเคนกันมากตั้งแต่ ค.ศ. 1990 ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ใช้ แคร็ก (crack) ซึ่งเป็นโคเคนแห้งเสพโดยการสูบ และเป็นสารเสพย์ติดที่เป็นอันตรายมากที่สุดชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบอีกกว่าร้อยละ 10 ของเด็กอเมริกาอายุระหว่าง 9-12 ปี ตอบแบบสำรวจว่าสามารถหาโคเคนมาได้โดยง่าย
ประมาณว่ามีการลักลอบนำโคเคนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาปีละ 80 ตัน จากประเทศอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตโคเคนโดยสังเคราะห์จากใบโคคามากที่สุด
ปริมาณโคเคนที่ชาวอินคาเคยเสพอยู่ในระดับต่ำ ประมาณว่าชาวอินคาเสพโดยการเคี้ยวใบโคคาวันละ 60 กรัม สารอัลคาลอยด์มีอยู่ในใบโคคาเพียงร้อยละ 0.5 ดังนั้นจะเป็นสารโคเคนเท่ากับ 200 – 300 กรัม
เรื่องราวเกี่ยวกับโคเคนได้แพร่ไปถึงยุโรปโดยคำบอกเล่าของนักล่าอาณานิคม และในปี ค.ศ. 1860 ผู้จำหน่ายไวน์และเครื่องดื่มชูกำลังในยุโรปได้เติมโคเคนเข้าไปด้วย ในเวลา 15 ปี ต่อมาคนทั่วไปสามารถหาซื้อผงโคเคนบริสุทธิ์มาเสพได้โดยง่าย ทำให้มีการเสพโคเคนเป็นประมาณสูงมากวันละ 200 – 1,000 มิลลิกรัมต่อคน ซึ่งมากกว่าประมาณในสมัยชาวอินคาเสพถึง 5 – 8 เท่า
ในปี ค.ศ. 1884 ฟรอยด์ ได้เขียนบทความทางวิชาการบรรยายสรรพคุณของโคเคนไว้มากมาย โดยเขียนว่าโคเคนเป็นยากระตุ้นสมองและอารมณ์ทางเพศ เป็นยาชาเฉพาะที่ รักษาโรคหอบหืดอาการหมดแรง และโรคอื่นอีกหลายอย่าง อนึ่งฟรอยด์เองก็เสพโคเคนวันละ 200 มิลลิกรัม ต่อมาภายหลังจึงประกาศวว่าโคเคนเป็นสารเสพย์ติดร้ายแรง
ปี ค.ศ. 1914 ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการออกกฎหมายห้ามจำหน่ายโคเคนโดยเสรี ต่อมาในปี ค.ศ.1930 ได้มีการค้นพบแอมเฟทามินรวมทั้งยากระตุ้นสมองชนิดอื่น และยาดังกล่าวได้เข้ามาแทนที่โคเคน เนื่องจากราคาถูกและหาได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เสพมีอารมณ์ร่าเริงนานกว่าโคเตน แต่ในปี ค.ศ. 1960 ผู้เสพก็ได้ทราบถึงอัตรายอันร้ายแรงของแอมเฟทามีนและได้ตั้งฉายาไว้ว่า “ยามรณะ” (speed kill) ทำให้แอมเฟทามีนถูกจัดเป็นยาเสพย์ติดให้โทษร้ายแรงเช่นเดียวกับโคเคน
ปี ค.ศ. 1970 ได้มีการใช้โคเคนกันมากขึ้นอีก โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงและชั้นกลาง และนิยมเสพโดยการสูดดม โดยมีความเชื่อว่าโคเคนปลอดภัยและไม่เสพติด
ปี ค.ศ. 1980 ได้มีโคนเคนชนิดใหม่ออกมาจำหน่ายเรียกว่า แคร็ก (crack) เป็นโคนเคนแข็ง เสพโดยการสูบและมีราคาถูกกว่าโคนเคนผงมาก ทำให้ผู้เสพซึ่งอายุยังน้อยสามารถหามาเสพได้
ผู้เสพแคร็กมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง
- ฉลาดขึ้น และ
- มีเพศสัมพันธ์ดีขึ้น แต่แคร็กทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายเร็วกว่าและมากกว่าโคนเคนผงซึ่งเสพโดยการสูดดม
รูปแบบของสาร
โคเคนเป็นสารที่ได้มาจากพืชซึ่งมีชื่อว่า โคคา (coca) ในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ มีการปลูกต้นโคคากันมาก ชาวพื้นเมืองนิยมเคี้ยวใบโคคาซึ่งมีชื่อเล่นว่า “บาซัลคา” (basulca) ผู้ป่วยเสพโดยการนำผงโคเคน (cocaine hydrochloride) มาสูดดมทางจมูกหรือละลายน้ำแล้วฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยอาจนำมาผสมกับเฮโรอีนแล้วดมหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยเรียกกันในหมู่ผู้เสพว่า “สารเพิ่มพลังและความสุข” (speed ball) ชนิดที่นิยมเสพคือ cocaine alkaloid ซึ่งสกัดมาจากชนิดผงดังกล่าวมีคุณสมบัติระเหยง่าย ดังนั้นเมื่อสูดดมจะออกฤทธิ์เร็วมาก อีกชนิดหนึ่งซึ่งนิยมเสพ โดยเฉพาะในประเทสอเมริกาคือโคเคนแข็ง เรียกว่า “แคร็ก" (crack) เสพโดยการสูบแบบสูบบุหรี่และมีราคาถูกมากว่า เป็นชนิดที่ผู้มีอายุน้อยนิยมเสพเพราะราคาถูกกว่าและหาได้ง่ายกว่า ในประเทศไทยโคเคนผงราคากรัมละประมาณ 3 พันบาท
แคร็กและโคเคนผงมีข้อแตกต่างกันดังนี้
- แคร็กเสพโดยการสูบ ทำให้เกิดอารมณ์สนุกสนานเร็วกว่ามาก ภายในเวลาเพียง 10 วินาที และมีฤทธิ์อยู่นาน 5-15 นาที โคเคนผงเสพโดยการสูดดม ออกฤทธิ์ช้ากว่า (ประมาณ 1-2 นาที) แต่มีฤทธิ์อยู่นานใกล้เคียงกัน
- เมื่อเสพแคร็กด้วยกล้องสูบ (ไปป์) แม้เพียงริมฝีปากผู้เสพได้สัมผัสกับไออุ่นของกล้องสูบผู้ป่วยก็มีอารมณ์สนุกสนานแล้ว ซึ่งลักษณะเช่นนี้อธิบายได้ว่าเป็น- พฤติกรรมตอบโต้แบบมีเงื่อนไข (conditioning)
- แคร็กทำให้เกิดความสุขมากกว่าโคเคนผงหลายเท่า
- แคร็กทำให้เสพติดง่ายกว่ามาก
- แคร็กทำให้ผู้เสพอ่อนแอ และเกิดโรคทางกายเร็วและรุนแรงมากกว่าอาการ
ผลของการเสพโคเคนขนาด 25-150 มิลลิกรัม มีดังต่อไปนี้
- มีความสุข และอารมณ์สนุกสนาน
- มีพละกำลังมาก
- เพิ่มประสิทธิภาพของสมอง
- มีภาวะตื่นตัว
- เพิ่มความไวของประสาทการรับรู้ทุกชนิด เช่น เรื่องทางเพศ การได้ยินเสียง การมองเห็นภาพและการสัมผัส
- เพิ่มความวิตกกังวลและความระแวงสงสัย
- นอนหลับได้น้อยลง
- อาการอ่อนเพลียหมดไป
- มีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น
- รู้สึกตัวเองมีความสำคัญ
- ทำให้เสพติด
- มีอาการวิกลจริต เช่น มีความคิดหลงผิดว่ามีคนคอยปองร้ายหรือจะฆ่า
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ม่านตาขยายและมีไข้
อาการขาดสาร ผู้ที่ติดโคเคนแล้วไม่มีสารเสพจะมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่ายและก้าวร้าว
- นอนไม่หลับและฝันร้ายหรืออาจนอนหลับยาก
- มีความรู้สึกไม่สบายใจอย่างรุนแรง
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- อาจเชื่องช้าหรือกระวนกระวาย
- มีอารมณ์เศร้า คิดอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย บางรายฆ่าตัวตายสำเร็จ
อันตรายและพิษของโคเคน
- มีอาการวิกลจริต เช่น คิดไปเองว่ามีคนคอยปองร้าย มีคนพูดจาว่าตน มีหูแว่ว ภาพหลอนและรู้สึกว่ามีแมลงไต่ตามตัว
- มีอาการซึมเศร้ามาก เบื่อชีวิต คิดอยากตายและฆ่าตัวตายสำเร็จ
- ประสบวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ เพราะต้องหาเงินไว้ซื้อโคเคนเพื่อเสพ ซึ่งมีราคาแพงมาก สูญเสียทรัพย์สินเงินทองและบ้านที่อยู่อาศัย มีหนี้สินล้นพ้นตัว
- ประกอบอาชญากรรมเพื่อหาเงินมาซื้อโคเคน อาจเข้าไปอยู่กับกระบวนการค้าขายยาเสพย์ติด้วย
- ยอมขายตัวเป็นโสเภณีเพื่อเอาเงินมาซื้อยา
- มีพฤติกรรมรุนแรง เกิดการทะเลาะวิวาท อาจประสบอันตายหรือทำร้ายผู้อื่น
- มีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ และมีความต้องการทางเพศสูง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งโรคเอดส์
พิษต่อร่างกาย มีดังต่อไปนี้
- ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ
- มีลมในช่องอก เนื่องจากผู้ป่วยหายใจอย่างแรงเพื่อให้ดูดซึมโคเคนได้มากที่สุด ทำให้ผนังปอดฉีกขาด หายใจไม่ออก และอาจเสียชีวิต
- เป็นโรคไซนัสอักเสบ เลือดออกในจมูก และผนังกั้นในจมูกทะลุ
- น้ำหนักลดลงมาก โดยโคเคนกดสมองทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร
- อาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและเสียชีวิต แม้อายุยังน้อย
- ใจสั่นและหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
- มีอาการชัก แบบโรคลมบ้าหมู
- ผู้ป่วยซึ่งตั้งครรภ์จะมีผลดังนี้
- ปริมาณเลือดไปสู่ทารกลดน้อยลง
- รกลอกตัวก่อนกำหนด
- ปวดท้องและคลอดก่อนกำหนด
-น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำมากและอาจเสียชีวิต
การรักษา
โดยทั่วไปอาการขาดโคเคนมักเป็นไม่รุนแรง ให้การรักษาโดยอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ร่วมกับการให้ยากล่อมประสาทและยารักษาโรคจิต
สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาคือการช่วยผู้ป่วยให้สามารถต้านต่อความรู้สึกอยากเสพสารอีกซึ่งมักรุนแรง
โดยทั่วไปอาการขาดโคเคนมักเป็นไม่รุนแรง ให้การรักษาโดยอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ร่วมกับการให้ยากล่อมประสาทและยารักษาโรคจิต
สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาคือการช่วยผู้ป่วยให้สามารถต้านต่อความรู้สึกอยากเสพสารอีกซึ่งมักรุนแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น